ข้อมูลเที่ยว กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

กรุงปักกิ่ง, ประเทศจีน


ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง เป็นเมืองหลวงของประเทศจีน ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศรองจากเซี่ยงไฮ้
ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศึกษา การขนส่ง และวัฒนธรรมจีน ในขณะที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจนั้น
จะอยู่ที่เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาปักกิ่งถูกยกสถานะเป็นเมืองสำคัญระดับโลกเป็นศูนย์กลางทางการปกครองการค้า การลงทุนที่สำคัญที่สุดของประเทศจีนในแต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อการค้าท่องเที่ยว ศึกษาเป็นจำนวนมากประชาชนชาวปักกิ่งมีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับอิทธิพลทาง
วัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นด้วย ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949
โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน
ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก 
เป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีน และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ

กำแพงเมืองจีน, ประเทศจีน
คนจีนก๊กต่าง ๆ ได้สร้างกำแพงเมืองจีนไว้เมื่อสองสามพันปีก่อน โดยสร้างกำแพงล้อมอาณาจักรของตนไว้
เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้รวมเมืองจีนเข้าเป็นเอกภาพเมื่อ พ.ศ. ๓๒๒ ก็เชื่อมต่อกำแพงที่ก๊กต่าง ๆ สร้างไว้เข้าด้วยกัน และสร้างต่อเติมขึ้นอีก
กำแพงเมืองจีนถือว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดด้วยฝีมือมนุษย์ เกณฑ์แรงงานเกือบล้านคน
และยังมีแรงงานจากพวกนักโทษผู้ซึ่งถูกโกนหัว และมีตรวนเหล็กคล้องคอ คนเหล่านี้ต้องทำงานในถิ่นทุรกันดาร
ท่ามกลางอุณหภูมิเลวร้าย คือ ๓๕ องศาเซลเซียสในฤดูร้อน และ -๒๑ องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ต้องอด ๆ อยาก ๆ
เพราะเสบียงที่ส่งมามักถูกขโมยกินหรือถูกยักยอกนำไปขาย คนงานนับพันจึงต้องล้มตาย ร่างถูกฝังอยู่ใต้กำแพง
กำแพงเมืองจีนจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลุมฝังศพที่ยาวที่สุดในโลก” ด้วย เหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงมีการสร้างกำแพงอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นนั้นไม่มีผู้ใดทราบแน่นอนี่มาเริ่มแรกเข้าใจว่าสร้างขึ้น
เพื่อเป็นปราการป้องกันการบุกรุกของชนเผ่ามองโกเลียทางภาคเหนือแต่มีผู้ให้เหตุผลว่า
ความจริงกำแพงสูงและยาวขนาดนี้ ไม่อาจป้องกันกองทัพใด ๆ ของผู้คิดจะบุกรุกจีนได้
เพียงทำลายส่วนหนึ่งของกำแพงลง ก็อาจยกทัพผ่านได้ ซึ่งก็เคยปรากฏอยู่เสมอในประวัติศาสตร์จีน
กำแพงเป็นเพียงเครื่องสกัดกั้นหรือก่อให้ศัตรูยุ่งยากในด่านแรกเท่านั้น เหตุผลที่น่าฟังอีกอย่างหนึ่งคือ
กำแพงนี้ได้ปิดกั้นทางน้ำไม่ให้ไหลออกไปภายนอก ชาวจีนทำไว้เพื่อให้ชนเผ่ามองโกเลียต้องลำบาก
ในการปีนป่ายขึ้นมาหาน้ำเป็นสำคัญ แต่บางฝ่ายก็ให้เหตุผลว่า กษัตริย์จีนทรงสร้างกำแพงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเกียรติ ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนสนใจเฉพาะกำแพงตอนที่สร้างไว้รอบเมืองเก่าแก่เท่านั้น แต่ที่แน่นอนก็คือ
กำแพงนี้ใช้เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างชาวตะวันออกกับตะวันตก

    
   

พระราชวังกู้กง, ประเทศจีน
สถานที่ตั้งของพระราชวังโบราณแห่งนี้แต่เดิมนั้นก็คือ พระราชวังหลวงของราชวงศ์หยวนแห่งมองโกล
ซึ่งต่อมาเมื่อราชวงศ์หยวนล่มสลายลงแล้วมีราชวงศ์หมิงขึ้นมาแทน จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหงอู่ได้ย้ายเมืองหลวงจากปักกิ่งไปนานกิงและดำริให้รื้อถอนพระราชวังออก
ซึ่งต่อมาเมื่อพระราชโอรสของพระองค์ จักรพรรดิหย่งเล่อได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ได้ย้ายเมืองหลวงกลับปักกิ่งดั่งเดิม
และทรงสั่งให้ก่อสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 1949 ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นพระราชวังต้องห้ามแห่งนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2187 ได้เกิดจลาจลขึ้นทำให้พระราชวังสมัยราชวงศหมิงเสียหายไป
และเมื่อราชวงศ์ชิงขึ้นครองอำนาจต่อจากราชวงศ์หมิง ทางราชวงศ์ชิงก็ได้ก่อสร้างสร้างขึ้น
มาใหม่บนฐานสิ่งก่อสร้างเดิม ทำให้พระราชวังกลายมาเป็นจุดศูนย์กลางอำนาจของจีนอีกครั้งหนึ่ง
เรื่อยมาจนถึงการล่มสลายของราชวงศ์ชิง และการเปลี่ยนมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ
พระราชวังต้องห้าม จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง"
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน
เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม
พิพิธภัณฑ์พระราชวัง ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง
และมีพระที่นั่ง 75 องค์ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้า
สู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน
เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม หอพระสมุด
ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด ในอดีตภายในเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ
โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย
แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้
ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)
พระราชวังต้องห้ามเป็นที่รู้จักในหลากหลายชื่อ ในภาษาจีนนั้น ชาวจีนจะเรียกพระราชวังต้องห้ามว่า
กู้กง ซึ่งแปลว่า พระราชวังเก่า นอกจากนี้ คำนี้ยังใช้เรียกพระราชวังเก่าตามเมืองต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศจีนด้วย
ส่วนคำที่เรารู้จักกันดีว่า "พระราชวังต้องห้าม" นั้น แปลมาจากภาษาจีน จื่อจิ้น เฉิง ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า
"เมืองต้องห้ามสีเลือดหมู" ด้วยเหตุที่ว่า ห้ามสามัญชนเข้าไปในบริเวณวังหลวงโดยเด็ดขาด
และสีเลือดหมูนั้นเป็นสีอาคารและหลังคาโดยทั่วไป

     
   

จัตุรัสเทียนอันเหมิน, ประเทศจีน
จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 440,000 ตารางเมตร ความหมายของเทียนอันเหมิน
คำว่า ‘เทียน’ แปลว่า ฟ้า ‘อัน’ แปลว่า ผาสุก ‘เหมิน’ แปลว่า ประตู
จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญในวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นสัญญลักขณ์เพราะว่าจัตุรัสเทียนอันเหมิน
คือที่ตั้งของเหตุการณ์สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์จีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ประตูเทียนอัน หรือเทียนอันเหมิน เดิมทีเป็นประตูหน้าของพระราชวังสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1417 มีชื่อเดิมว่า "เฉิงเทียนเหมิน" หลังซ่อมแซมใหม่ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง ในปี ค.ศ. 1651 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทียนอานเหมิน
จากประตูนี้ เราสามารถเดินทะลุเข้าวังโบราณได้ ลักษณะของประตูวังเก่าแห่งนี้ เป็นกำแพงใหญ่
ชั้นบนสร้างเป็นเก๋งหลังคาสีเหลือง มีเสากลมสีแดง 10 ต้น เพื่อให้เกิดเป็นช่วงระหว่างเสา 9 ช่อง
ตามตัวเลขทรงโปรดของจักรพรรดิ ชั้นล่างเป็นช่องประตูทรงเกือกม้า 5 ช่อง
มีภาพเหมือนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของประธานเหมา เจ๋อ ตุง ติดตั้งเหนือประตูกลางสองข้างของภาพนี้
มีคำขวัญเขียนว่า "ประชาชนจีนจงเจริญ" และ "ประชากรโลกจงเจริญ" เป็นคำพูดของ ท่านเหมา
เมื่อครั้งกล่าวคำปราศรัยบนพลับพลาเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนา
ประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" และได้ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติตลอดมาจวบจนปัจจุบันบริเวณหน้าเทียนอันเหมิน มีสะพานหินที่แกะสลักลวดลาย
สวยงามเรียงขนานกัน 5 สะพานด้วยกัน มีสิงโตหินขนานใหญ่ ยืนเป็นยามรักษาประตูอีก 1 คู่
สำหรับสิงโตคู่ที่วางประดับหน้าตำหนักและอาคารบ้านเรือนทั่วไป จะมีตำแหน่งการจัดวางที่ตายตัว
โดยตัวผู้จะถูกวางทางซ้าย ตัวเมียอยู่ทางด้านขวาเสมอ
จัตุรัสเทียนอันเหมินล้อมรอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่
หอประตูเทียนอันเหมินที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจัตุรัส ธงแดงดาว 5 ดวงผืนใหญ่โบกสะบัดอยู่
เหนือเสาธงกลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชนใจกลางจัตุรัส มหาศาลาประชาคมด้านทิศตะวันตกของจัตุรัส ตลอดจน พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีนทางฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ยังมี หอรำลึกท่านประธานเหมาและหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน
ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติมากกว่าพันๆคนมาเยี่ยมชมจัตุรัสเทียนอันเหมิน
และอาคารสถาปัตยกรรมบริเวณจัตุรัสแห่งนี้ทุกวัน โดยเฉพาะการชมพิธีอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอด
เสาและลงจากยอดเสาของกองทหารในเวลาเช้าและเย็น